ประเภทของระบบดาวเทียม GNSS มีกี่ประเภท ไปอ่านกัน
GNSS – 1 หรือ EGNOS
เป็นระบบนำร่องที่ใช้ดาวเทียมสื่อสาร 3 ดวงโคจรในวงโคจรค้างฟ้าทำการส่งสัญญาณและข้อความนำร่องที่มีความแม่นยำสูงให้กับผู้ใช้ในทวีปยุโรปโดยเฉพาะ การทำงานของระบบเริ่มต้นจากสถานีภาคพื้นดินทำการรับสัญญาณ GPS แล้วนำส่งข้อมูลดังกล่าวให้ศูนย์ควบคุมหลัก Master Control Centre เพื่อประมวนค่าความผิดพลาดของสัญญาณ GPS แล้วทำการแก้ไข และส่งข้อความที่มีความแม่นยำขึ้นสู่ดาวเทียมสื่อสาร เพื่อทวนสัญญาณดังกล่าวให้กับผู้ใช้
GNSS – 2 หรือ Galileo
เป็นระบบนำร่องสำหรับพลเรือนที่มีศักยภาพเทียบเท่า หรือดีกว่า GPS ระบบ Galileo ประกอบด้วยดาวเทียม 30 ดวง โคจรใน 3 วงโคจร ที่ความสูง 23,222 กิโลเมตร และสามารถให้บริการครอบคลุมได้ถึงละติจูดที่ 75 องศาเหนือ ระบบนำร่อง Galileoได้ถูกออกแบบให้บริการได้ถึง 4 ประเภท
เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้พลเรือนที่มีความหลากหลาย และสนับสนุนภารกิจด้านการค้นหาและช่วยชีวิต จากความต้องการที่หลากหลาย ทำให้ช่องสัญญาณที่ต้องถูกแพร่โดยดาวเทียม Galileo มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นโดยรวมแล้วมีทั้งสิ้น 11 สัญญาณ
โดยแบ่งได้เป็น 10 สัญญาณสำหรับการนำร่องและ 1 สัญญาณสำหรับสนับสนุนภารกิจด้านการค้นหาและช่วยชีวิต SAR แถบความถี่ของสัญญาณ Galileo ทั้ง 11 สัญญาณ บางสัญญาณใช้ความถี่ร่วมกับระบบ GPS อย่างไรก็ตามในทางทฤษฎีและการใช้งานการที่ระบบทั้งมีการใช้ความถี่ร่วมกันไม่น่าจะประสบปัญหาเนื่องจากใช้การเข้ารหัสที่แตกต่างกัน
นอกจากนี้ในระบบ ยังจะประกอบไปด้วยระบบ GLONASS ชื่อเต็มคือ Global Navigation Satellite System เป็นของสหพันธรัฐรัสเซีย ประกอบด้วยดาวเทียม 30 ดวง ที่วงโคจรสูง 19,130 กม. GLONASS เป็นระบบนำทางที่ใหญ่ที่สุดที่จะสามารถช่วยให้คุณติดตามตำแหน่งของวัตถุต่าง ๆ
โครงการ GLONASS เปิดตัวในปี 1982 และยังคงมีการพัฒนาและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ ระบบ GLONASS คือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกด้วยหลักการ Satellite-based radio navigation เช่นเดียวกับระบบดาวเทียม GPS หน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลระบบ GLONASS คือ Ministry of Defense of Russian Federation
โดยเมื่อสมบูรณ์แล้วระบบจะประกอบด้วยดาวเทียมจำนวน 24 ดวง โคจรในระนาบ 3 ระนาบที่ทำมุม 64.8° กับระนาบศูนย์สูตร ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับ GPS แต่เนื่องจากผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจได้ส่งผลให้จำนวนดาวเทียม GLONASS จำนวนหนึ่งที่ถูกสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้รับงบประมาณให้ถูกส่งขึ้นสู่อวกาศ ทำให้ระบบ GLONASS ไม่สามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพได้เทียบเท่ากับระบบ GPS